การทำผ้าบาติกส่วนมากจะทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือจะทำเป็นของใช้อื่นๆก็มีบ้าง แหล่งที่ทำผ้าบาติกจะพบทางแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้น ได้ชื่อว่าเป็นการทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิม (Thue Batik) คือการใช้ขี้ผึ้ง (Wax) เป็นตัวกันสีทำให้เกิดเป็นลวดลายเมื่อนำไปย้อม ซึ่งปัจจุบันยังคงใช้วิธีนี้กันอยู่
เอฟ เอ วากเนอร์ (F.A.Wagner)ได้กล่าวถึงวิธีการทำผ้าบาติกในประเทศอินโดนีเซียไว้ว่า มันเป็นงานศิลปะที่ออกแบบบนผืนผ้าที่มีลักษณะพิเศษมากทั้งที่ทำในหมู่เกาะชวา และมาดูรา (Java And Madura)
ยังไม่เคยมีผ้าบาติกจากหมู่เกาะอื่นๆที่มีลักษณะพิเศษและคุณภาพดีเท่ากับผ้าที่มาจากหมู่เกาะชวา(ที่เรียกกันว่า แจมบิ บาติก Jambi Batik ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่เกาะสุมาตราใต้ ซึ่งเข้าใจว่าได้ผลิตขึ้นที่นั่น แต่ที่จริงแล้วเป็นสินค้านำเข้ามาจากเกาะชวามายังเกาะสุมาตรา)
วิธีการทำผ้าบาติกดังกล่าวได้มีการพัฒนาให้มีความง่ายและสะดวกขึ้นโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Bamboo Stick (ใช้ไม้ไผ่เหลาให้เป็นหลายแหลมๆมาจุ่มขี้ผึ้งร้อนๆแล้วนำไปจุดเป็นลวดลายบนผืนผ้าก่อนนำไปย้อม ซึ่งตามปกติจะพบเห็นลวดลายจุดๆ บนผ้าบาติกของอินโดนีเซียเป็นลักษณะเด่นชัด แม้แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่)
จนกระทั่งราวกลางศตวรรษที่ 20 ทูรัสจา (Toradtjas) ได้ประยุกต์เครื่องมือจากปลายแหลมๆมาเป็นลักษณะแบนๆ ปลายมน (ลักษณะเหมือนปากคีบ 2 ซีกปรพกบกันใช้ด้ายหรือเชือกมัดที่โคน เมื่อจุ่มขี้ผึ้งร้อนๆขี้ผึ้งจะเกาะในร่องมี่ไม้ไผ่ 2 ซีกประกบกันอย่างหลวมๆ และเกาะบริเวณด้ายหรือเชือกทำให้มีปริมาณของขี้ผึ้งนำไปจุดๆได้มากขึ้น ปัจจุบันเครื่องมือชนิดนี้ได้ใช้โลหะแทนไม้ไผ่เรียก Canting )ซึ่งเครื่องมือที่คิดขึ้นมาใหม่นี้ แตกต่างจากเครื่องมือดั้งเดิมของชาวเกาะชวาที่ยังคงใช้เครื่องมือดั้งเดิมและยังคงใช้แป้งเป็นตัวกันสี
วากเนอร์กล่าวว่า ที่จริงแล้วในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียก็เป็นแหล่งกำเนิดของผ้าบาติกแบบพิเศษเหมือนกับในประเทศอินโดนีเซีย โรงงานทำผ้าบาติกที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในสิงคโปร์สร้างขึ้นราว ปี ค.ศ.1920 - 1930 กิจการทำผ้าบาติกในสิงคโปร์ได้ยุติลงหลังสงครามโลกครั้งที่2
ก่อนที่จะมีโรงงานทำผ้าบาติกในสิงคโปร์ ได้มีการตกแต่งบนผืนผ้าลักษณะหนึ่งที่เรียกว่า "เครน ปูติส" (Kain Putis) หรือ "เทอแรพ ฮิทแตม" (Terap Hitam) ซึ่งมีความหมายว่า Terap หมายถึงการพิมพ์ (Print) Hitam หมายถึง สีดำ ลักษณะที่กล่าวนี้เป็นการนำผ้ามาพิมพ์โดยวิธีการกดแม่พิมพ์ (Stamping) ด้วยหมึกหรือสีดำกันน้ำโดยใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ (Wood block) ทำลวดลายบนผ้าฝ้ายสีขาวแล้วนำไปย้อมสี ทำให้เกิดเป็นลายเส้นสีดำบนผ้าผืนสีต่างๆเมื่อผ่านการย้อมผืนผ้ายาวๆ ที่ผ่านกรรมวิธีเรียกกันว่า "โสร่ง"
(Sarong) นำมาใช้เป็นผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง หรือผ้าปูที่นอน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อนหน้านี้ราว 70 ปีที่แล้ว เอนซิค ซู (Encik Su) กล่าวว่า มีโรงงานเล็กๆ ทำผ้าชนิดนี้ในโกตา บารู และกัวลา ตรังกานู ในประเทศมาเลเซียและนำมาในสิงคโปร์ ปี ค.ศ.1910 ก่อนที่จะมีโรงงานในกัวลา ตรังกานู ปี ค.ศ.1919
ต่อมาประมาณ ปี ค.ศ.1942 ได้มีชาวญี่ปุ่นคิดทำแม่พิมพ์ด้วยโลหะมาจุ่มขี้ผึ้งแล้วพิมพ์ลงบนผืนผ้านำผ้านั้นไปย้อมสี ซึ่งกลายเป็นการทำบาติกโดยการใช้แม่พิมพ์กดเป็นลวดลาย (Block Printed Batik) เข้ามาเผยแพร่ในประเทศสิงคโปร์ และกลายเป็นที่นิยมกันในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เกิดเป็นโรงงานอุตสาหกรรมการทำบาติกโดยวิธีนี้ขึ้นในรัฐกลันตัน และตรังกานูในปี ค.ศ.1919
ปัจจุบันมีโรงงานทำผ้าบาติกมากกว่า 100 แห่งรอบๆเมืองโกตา บารูและประมาณ 50 แห่ง ในกัวลา ตรังกานู ประเทศมาเลเซีย กลายเป็นศูนย์กลางของการทำผ้าบาติกแพร่กระจายออกไปถึงกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง กลันตัน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในประเทศสิงคโปร์ อุตสาหกรรมการทำผ้าบาติกไม่ได้ฟื้นตัวหลังจากเกิดสงคราม โรงงานที่มีอยู่เพียงแต่ทำผ้าโสร่งจากไหม และฝ้าย จนกระทั่งปี ค.ศ.1971 ได้มีการทำผ้าบาติกจากผ้าไหมเป็นที่นิยมและทันสมัยในยุโรป และออสเตรเลีย โรงงานเหล่านี้ได้ช่างฝีมือและแรงงานมาจากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ผู้ชำนาญงานเหล่านี้เป็นช่างฝีมือท้องถิ่นที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมๆ เอาไว้ ผ้าที่ทำส่วนมากจะเป็นผืนผ้ายาวๆที่นำไปทำเป็นเครื่องแต่งกายและของใช้ในบ้าน เช่น กระโปรง ชุดต่างๆ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูที่นอน และอื่นๆ มีตลาดรองรับในประเทศออสเตรเลีย
ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ อังกฤษ เยอรมณี แหล่งต่างๆ ในยุโรปและตะวันออกกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น